ความเป็นมา



ข้อมูลชุมชนตำบลบ้านโคก

บ้านโคก

บ้านโคกต้นกำเนิดมาจากบ้านโพธิ์ โคก หมายถึงป่า ชาวอีสานเรียกป่าว่า โคก เดิมอยู่ร่วมกับบ้านโพธิ์ ม.๒ สาเหตุ เนื่องจากบ้านโพธิ์ตั้งอยู่ใกล้ที่ลุ่มน้ำท่วมถึงและการขยายบ้านเรือนลำบาก มีทุ่งนาล้อม

รอบหมู่บ้านทำให้ภายในหมู่บ้านถนนเป็นตรมโคลน จากมูลสัตว์ จึงแยกออกจากหมู่บ้านมาตั้งบ้านเรือนที่โคก ซึ่งเป็นเนินสูง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ที่หนาแน่น มีฝูงสัตว์มากมายนานาชนิดผู้ตั้งหมู่บ้านไม่ทราบเพราะเนิ่นนานจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านโคก เพราะเป็นโคก
เต็มไปด้วยป่าไม้ และสัตว์ ต่อมาได้ขยายตำบลจากตำบลสร้างคอม เป็นตำบลบ้านโคก จึงได้แยกหมู่บ้านออกเป็น ๒ หมู่
เพื่อสะดวก และอำนวยการปกครองประชาชนให้ทั่วถึง เป็นบ้านโคกหมู่ ๑ , ๗ มาตราบจนเท่าทุกวันนี้

อีกนัยหนึ่ง(ข้อมูลจากปราชญ์และผู้สูงอายุในชุมชน)
จากการสอบถามเพิ่มเติมจากปราชญ์ชาวบ้านผู้สูงอายุที่เกิดอยู่ในพื้นที่บ้านโคก –บ้านโพธิ์ ทราบว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ 2447 บ้านโพธิ์เกิดไฟไหม้ บ้านครั้งใหญ่วอดไปหลายหลังคา เหลือบ้านไม่กี่หลังคา ที่อยู่ใกล้บริเวณ วัดบ้านโพธิ์ สร้างความโศกเศร้าสลดใจ ไม่มีที่พักพิง ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปอยู่อาศัยตาม เถียงนา เช่นนาดอนเดื่อ - นาดอนบาก แต่บางครอบครัว ก็ปลูกบ้านใหม่อยู่ที่เดิม และมีหลายครอบครัวย้ายไปปลูกสร้างบ้านใหม่อยู่ตามไร่ ตามสวนแถวโคก ใกล้บ้าน ซึ่งเป็น ที่ดอนเนินสูงลาดชัน อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ และ สัตว์ป่า นานาชนิดในสมัยนั้น จึงได้ขนานนามว่า บ้านโคก จนถึงปัจจุบัน ทราบว่า ขุนศรีคำพา - แม่หนุ่ย ทามาฤทธิ์ พร้อมด้วยญาติ พี่น้องจำนวน 5 ครอบครัว มาปลูกสร้างบ้านใหม่ซึ่งเป็นที่ โนนหรือที่ดอน ตามที่ทำไร่ทำสวน ใกล้บ้าน ซึ่งใกล้กับบริเวณ 4 แยกกลางบ้าน บ้านโคกปัจจุบัน อยู่ต่อมาก็มีการย้ายถิ่นฐานมาจากที่อื่นเป็นหลายครอบครัว มีประชากรเพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลการบริหาร / ปกครอง 

เมื่อประมาณปี พ.ศ 2465 ได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นเป็นทางการ โดย พ่อขุนศรีคำพา ทามาฤทธิ์ แม่หนุ่ย ได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคก คนที่ 1


บ้านโคกหมู่ที่ 7
ปี พ.ศ 2524 บ้านโคกได้แยกการปกครองจากบ้านโคกหมู่ที่ 1 มาเป็นบ้านโคก หมู่ที่ 7 

ข้อมูลกำนันตำบลบ้านโคก
ปี พ.ศ 2524 นายสี อัปการัตน์ ได้รับเลือกเป็นกำนันตำบลบ้านโคก คนที่ 1
ปี พ.ศ 2530 นายหวัน โพธิ์บาย ได้รับเลือกเป็น กำนันตำบลบ้านโคก คนที่ 2
ปี พ.ศ 2533 นายสงวน โพธิ์ทิพย์ ได้รับเลือกเป็น กำนันตำบลบ้านโคก คนที่ 3
ปี พ.ศ 2537 นายสมนึก โพธิ์ทิพย์ ได้รับเลือกเป็น กำนันตำบลบ้านโคก คนที่ 4
ปี พ.ศ 2540 นายสังข์ทอง ดวงภักดี ได้รับเลือกเป็นกำนันตำบลบ้านโคก คนที่ 5
8 เมษายน 2548 นายคำจันทร์ นายกชนได้รับเลือกเป็นกำนันตำบลบ้านโคก คนที 6



บ้านโพธิ์
เดิมขุนศรีคำภาเป็นชาวเวียงประเทศลาวได้หนีภัยศึกหนีข้ามโขง มาพร้อมเมียกับลูกชาย ๒ คน คือ นายทอง หรือนายทองมา และน้องชาย นายสิงห์ หนีมาอาศัยอยู่ที่วัดสวนไผ่( ปัจจุบันคือวัดป่าพันลำ ) ประมาณ ๒๐ ครอบครัว อยู่ต่อมาก็มีชาวขอมหนีภัยสงครามมาโดยใช้วัวเทียมเกวียนเป็นพาหนะขนสัมภาระเดินทางมาด้วยกันทั้งหมดพันลำ พอมาถึงซึ่งเป็นที่วัดป่าพันลำทุกวันนี้ เกวียนก็มาล่มหรือจมลงโคลนพร้อนกัน ชาวขอมจึงได้อธิฐานว่าถ้าเกวียนขึ้นโคลนและเดินทางต่อไปได้ จะสร้างวัดถวายพออธิฐานเสร็จน่าอัศจรรย์ล้อเกวียนที่ติดล่มก็ขึ้นได้จริงๆ ชาวขอมจึงพากันเอาพระที่ติดตัวมาถวายคนละองค์สององค์ จึงอพยพหนีต่อไป พอชาวขอมอพยพหนีไปได้ไม่นาน ชาวบ้านที่ตั้งอยู่ที่วัดสวนไผ่ก็ได้เกิดโรคห่า ( ปัจจุบันโรคอหิวาตกโรค ) ถ้าโรคนี้เกิดขึ้นกับหมู่บ้านใดจะต้องตายกันหมด เพราะสมัยนั้นยารักษาโรคไม่มี เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วชาวบ้านบางส่วนจึงได้อพยพหนีหาตั้งถิ่นฐานใหม่ จึงหนีมาตั้งบ้านใหม่ที่บริเวณต้นโพธิ์ใหญ่ (ต้นโพธิ์ใหญ่ในวัดเวฬุวัน) ซึ่งมีนายทองมาเป็นผู้ริเริ่มความคิดรวมพลังรวมใจกันสร้างบ้านขึ้นมาเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ต่อมาชาวบ้านที่สวนไผ่ก็เกิดอัคคีภัยขึ้นจึงหนีมาอยู่ด้วยกัน หลังจากก่อตั้งบ้านได้ไม่นาน พ่อแม่ก็เสียชีวิตลงนายทองจึงบวชให้พ่อแม่ ส่วนน้องชายก็บวชตาม แต่ไปอยู่วัดป่าพันลำ พระอาจารย์ทองเป็นเกจิอาจารย์ที่ โด่งดังมากในเรื่องเวทย์มนต์คาถาเครื่องรางของขลังและได้มรณภาพที่วัดเวฬุวันบ้านโพธิ์ พระอัฐิได้บรรจุไว้ที่องค์พระประธานในโบสถ์วัดเวฬุวันบ้านโพธิ์ซึ่งมี นายทา อัปการัตน์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกด้วย ปัจจุบันชาวบ้านนิยมเรียกหลวงปู่ทองว่า "ญาครูทอง "

บ้านดอนบาก
บ้านดอนบากใต้อพยพมาจากบ้านโคก บ้านโพธิ์ มีนายลา คิลาโน,นายแฮบ คิลาทาน กลับพวกมาทำสวนอยู่ริมฝั่งห้วยชื่อ ห้วยวังตูมปัจจุบัน อยู่มาเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ย้ายขึ้นมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนซึ่งเป็นป่าดงดิบมีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ต้นไม้ชนิดนี้ เรียกว่า ต้นกระบาก จึงเรียกชื่อหมู่บ้านดอนบากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

บ้านดอนเดื่อ
บ้านดอนเดื่อ ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ราษฎรอพยพมาจากบ้านโพธิ์และบ้านโคกเหตุที่มาตั้งบ้านเพื่ออาศัยน้ำจากลำห้วยกุดมุ่น
/ วังเดื่อที่มีน้ำตลอดปี ต่อมาเรียกว่าห้วยบ้านเพราะตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้าน ลำห้วยอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ห่างออกไปประมาณ ๒๐๐ เมตรสองฝั่งลำห้วยก็เป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำนาปลูกข้าว ชื่อหมู่บ้านเรียกตามที่ตั้งของหมู่บ้าน แต่ก่อนมีต้นมะเดื่อขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก และรวมกันอยู่เป็นจุดเด่น ภาษาอีสานเรียกว่าดอน เลยตั้งชื่อว่าดอนเดื่อ ลำห้วยก็มีต้นมะเดื่อขนาดใหญ่ขึ้นอยู่จึงเรียกว่า “ วังเดื่อ “
วัดอุทุมพรบ้านดอนเดื่อ ภาษาบาลีหมายถึงต้นมะเดื่อ บ้านดอนเดื่อแบ่งการปกครองออกเป็น ๒ หมู่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็น
บ้านดอนเดื่อหมู่ ๔ และบ้านโพธิ์ชัย หมู่ ๙

บ้านนาน้ำชุ่ม
บ้านนาน้ำชุ่ม เดิมเป็นบ้านโพนบกเพราะมีต้นบกจำนวน ๖ ต้น ที่หน้าหมู่บ้าน มีนายท้าว อุปจันโท , นายทองสูง วิชัยวาษ , นายบุญ ภูคู่โคตร เป็นผู้มาจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ขึ้นต่อบ้านโคก หมู่ที่ ๑๐ ต.สร้างคอม อ.เพ็ญ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้น เป็นบ้านนาน้ำชุ่ม หมู่ที่ ๑๓ ต.สร้างคอม อ.เพ็ญ มีนายสมเศรา อุปจันโท เป็นผู้ใหญ่บ้าน เพราะมีหนองฮวงสุ่มอยู่ข้างหมู่บ้าน จึงได้ใช้ชื่อเป็นบ้านนาน้ำชุ่ม จนถึงปัจจุบัน

บ้านโนนสังวาลย์
เมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๑ ได้มีนกลุ่มหนึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำกินอยู่ที่แห่งนี้ โดยมีนายสังวาลย์ และครอบครัวเป็นผู้นำของคน
กลุ่มนี้และได้ตั้งชื่อว่า " บ้านเหล่าม้น" ซึ่งสมัยนั้นที่แห่งนี้เป็นป่าทึบมาก ( ป่าดงดิบ ) จึงได้ตั้งชื่อบ้านตามป่า นายสังวาลย์ และ
ครอบครัว ได้อพยพมาจาก อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อมาก็ได้มีคนที่อยู่ใกล้เคียงเข้ามาด้วย เพราะมีที่ดินที่นาอยู่ในบริเวณนี้ซึ่งมีมาจากที่ต่าง ๆ เช่น บ้านสร้างคอม บ้านโพนฆ้อง บ้านดอนบาก และที่อื่น ๆ อีกหลายแห่งเข้ามาอยู่ทำความเจริญรุ่งเรืองมาตลอด จนกระทั่งนายสังวาลย์ได้สิ้นอายุขัย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ ชาวบ้านและผู้นำหมู่บ้านคนต่อมาได้ลงความเห็นกันว่าเพื่อเห็นเกียรติแก่
ผู้นำคนเก่าซึ่งเป็นคนริเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านจึงได้เอาชื่อของท่านมาตั้งเป็นชื่อของบ้าน คือ “ บ้านโนนสังวาลย์” มาจนถึงปัจจุบัน

บ้านโพธิ์ชัย
บ้านโพธิ์ชัยเดิมคือบ้านดอนเดื่อ หมู่บ้านได้ขยายมากขึ้น จึงได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ หมู่ คือ หมู่ที่ ๔ คือ บ้านดอนเดื่อ หมู่ที่ ๙ ( บ้านโพธิ์ชัย ) โพธิ์ชัย เป็นชื่อวัดมีมาตั้งแต่นานแล้ว เมื่อมีการแบ่งเขตการปกครอง วัดโพธิ์ชัยอยู่ในเขตการปกครองนี้ จึงได้ตั้งชื่อบ้านตามวัดว่า “ บ้านโพธิ์ชัย “ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐

บ้านหนองไผ่
บริเวณบ้านหนองไผ่เมื่อครั้งก่อนเคยเป็นป่าดงดิบมาก่อนซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำ หมู่บ้าน ได้แก่ “ หนองไผ่ “ ที่เป็นสาธารณะประจำของหมู่บ้านหนองไผ่มีต้นไม้ไผ่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติล้อมลอบตามหนองและมีผู้คนได้สัญจรไปมาได้พักผ่อนชำระน้ำ
ที่สดใสตามธรรมชาติอย่างร่มเย็น เมื่อตกถึงฤดูฝนก็มีผู้คนชาวบ้านใกล้เคียงออกหาอาหารจะต้องมาเก็บหน่อไม้ไปกินโดยธรรมชาติ
แต่ปัจจุบันนี้ได้ทำโครงการขุดสระกว้าง ๒ ไร่ ยาว ๒ ไร่ ลึก ๓ เมตร เป็นสระทำการเกษตรของหมู่บ้านหนองไผ่ไปแล้วและเป็นที่อาศัยของชาวบ้านต่อไป จึงได้นำมาทำประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองไผ่ ดังนี้ ได้มีนายกอง นาระกุล , นายทุย เสนา , นายสมพงษ์ ศรีสงคราม เป็นผู้นำในการสร้างบ้านแปลงเมือง เจริญรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งบุคคลดังกล่าวได้อพยพมาคนละทิศทาง นายกอง นาระกุล มาจากบ้านหนองอั้ว อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้มาเป็นผู้ใหญ่บ้านหนองไผ่คนแรก

ข้อมูลประกอบ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี